วิธีรักษาแผลจากการถูกของมีคมบาดและแผลเล็กน้อย
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้กับเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นแผลมีดบาดหรือหัวเข่าถลอกจากการหกล้ม แผลเล็กน้อยอย่างแผลจากการถูกบาดและแผลถลอกควรได้รับการรักษาอย่างจริงจังและโดยเร็ว
วิธีรักษาแผล
เมื่อคุณหรือสมาชิกในครอบครัวของคุณมีแผลจากการถูกบาดหรือแผลถลอกที่มีเลือดออก ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ห้ามเลือดโดยใช้ผ้าพันแผลหรือผ้าขนหนูที่สะอาดกดที่แผล และหากเป็นไปได้หรือจำเป็น ให้ยกบริเวณที่มีแผลสูงเหนือหัวใจเพื่อลดการไหลของเลือด
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามือสะอาด จากนั้นนำสิ่งแปลกปลอมอย่างสิ่งสกปรกออกจากแผล24 แล้วฆ่าเชื้อด้วยสารฆ่าเชื้อหรือยาฆ่าเชื้อ
- ครีมทาฆ่าเชื้ออย่าง Bepanthen® First Aid ช่วยฆ่าเชื้อแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่ลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการสัมผัสแผล25
- ปิดแผลด้วยวัสดุทำแผลปราศจากเชื้อชนิดมีกาว เช่น พลาสเตอร์
เมื่อใดที่ควรเข้ารับการดูแลรักษาทันที
- เมื่อไม่สามารถห้ามเลือดได้
- เมื่อมีเลือดออกจากหลอดเลือดแดง
- เมื่อมีอาการชาบริเวณผิวรอบแผล
- เมื่อแผลมีขนาดใหญ่มากหรือมีความเสียหายของเนื้อเยื่อมาก
ระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรีย
แม้ว่าคุณจะทำทุกขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่ปัจจัยที่เหนือการควบคุมของคุณก็อาจทำให้การติดเชื้อเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม มีบางปัจจัยที่อาจบ่งชี้ว่าแผลมีความเสี่ยงต่อ
การติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงกรณีที่แผลมีขอบขรุขระและเกิดการปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือของเหลวจากร่างกาย เช่น หนอง
อาการแสดงของการติดเชื้ออาจรวมถึงลักษณะต่อไปนี้
- บวม แดง และเจ็บปวดบริเวณแผลมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
- มีหนองออกมาจากแผล
- มีกลิ่นเหม็นออกมาจากแผล
- วิงเวียนศีรษะหรือหัวใจเต้นเร็ว
- อุณหภูมิร่างกายสูงหรือรู้สึกไม่สบาย
ผิวหนังเกิดการสมานอย่างไร
กระบวนการสมานแผลมีหลายระยะ
สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการห้ามเลือด
- หลอดเลือดที่นำไปยังบริเวณแผลจะหดตัว ซึ่งลดการไหลของเลือด (ที่เรียกว่า การหดตัวของ
หลอดเลือด) - เกล็ดเลือดจะรวมกลุ่มบริเวณแผล รวมถึงโปรตีนในเลือดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดลิ่มเลือดจะแข็งตัวและก่อตัวเป็นก้อน (ที่เรียกว่า ลิ่มไฟบริน (fibrin plug)) ที่หยุดการไหลของเลือดและกลายเป็นสะเก็ดแผล
เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว
หลอดเลือดที่หดตัวไปก่อนหน้านี้จะขยายตัวเพื่อให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ต่อสู้กับการติดเชื้อสามารถรวมกลุ่มรอบบริเวณแผลได้ เพื่อช่วยป้องกันและต่อสู้กับการติดเชื้อ
หลังจากป้องกันแผลจากการติดเชื้อ
เซลล์ที่สามารถสร้างผิวหนังและเนื้อเยื่ออื่นๆ ได้จะรวมตัวบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บและเริ่มสร้างคอลลาเจนที่ในท้ายที่สุดจะเติมเต็มแผลใต้สะเก็ดแผลและสร้างหลอดเลือดฝอยใหม่เพื่อนำเลือด
ที่มีออกซิเจนมายังแผลที่กำลังจะหาย
ผิวหนังรอบขอบแผลจะหนาตัวขึ้นแล้วค่อยๆ กระจายตัว (หรือยืดออก) ใต้สะเก็ดแผลเข้าสู่กึ่งกลางของแผลซึ่งเป็นจุดที่ผิวหนังจากด้านอื่นๆ มาเจอกันและก่อตัวเป็นรอยแผลเป็น (ประมาณ
3 สัปดาห์หลังได้รับการบาดเจ็บครั้งแรก)
อัตราการหายของแผลอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ เช่น
- อายุ: แผลของผู้ที่มีอายุน้อยจะหายเร็วกว่าผู้ที่มีอายุมาก
- สารอาหาร: ร่างกายต้องการการได้รับวิตามินซีที่ดีเพื่อสร้างคอลลาเจน
- การสูบบุหรี่: แผลของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (โดยเฉลี่ย) หายเร็วกว่าผู้ที่สูบบุหรี่
- ความเครียด: การเครียดบ่อยๆ สามารถชะลอกระบวนการหายของแผลได้
- การติดเชื้อหรือความเจ็บป่วยอื่นๆ: เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ ความดันโลหิตสูง และการไหลเวียนของเลือดไม่ดี สามารถทำให้ความสามารถของร่างกายในการทำให้แผลหายลดลง
แผลหายเร็วขึ้นได้อย่างไร
เวลาในการหายของแผลยังอาจได้รับผลกระทบจากระดับความชุ่มชื้นของผิวด้วย ทันทีที่แผลปิด สิ่งสำคัญคือการทำให้ผิวหนังใหม่และผิวหนังรอบแผลชุ่มชื้นและอิ่มน้ำอยู่เสมอเพื่อช่วยลดการอักเสบและการเกิดรอยแผลเป็น รวมถึงช่วยส่งเสริมให้ปราการผิวแข็งแรง
ใช้ Bepanthen® First Aid กับแผลเล็กน้อยประเภทต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมถึงแผลถลอก แผลที่ถูกของมีคมบาดและแผลขีดข่วน แผลแตก แผลไหม้เล็กน้อย และ/หรือแผลกดทับ ไม่ควรใช้ Bepanthen® First Aid กับบาดแผลที่รุนแรง แผลลึก หรือแผลที่ปนเปื้อนเชื้อมาก ซึ่งแผลดังกล่าวต้องได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์