อาการ 'หัวนมแตก' รักษาอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงติดเชื้อ
การให้นมลูกนับเป็นภารกิจสำคัญของคุณแม่หลังคลอด แต่หลายครั้งที่อาจนำไปสู่ปัญหาจากการเกิดแผล หรือรอยแตกที่หัวนมขึ้นมา ทำให้คุณแม่เกิดความเจ็บปวดและความลำบากต่อการให้นมลูก ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจส่งผลกระทบทั้งต่อตัวคุณแม่และลูกน้อย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การใช้ครีมทาหัวนมแตกจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการและฟื้นฟูหัวนมให้กลับมาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
หัวนมแห้งแตก เกิดจากอะไร?
- การดูดนมของลูกน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการจับหัวนมไม่ถูกวิธี หรือลูกน้อยดูดนมแรงเกินไป ทำให้หัวนมบอบช้ำ รวมถึงการให้น้ำนมนาน หรือบ่อยเกินไป จนหัวนมไม่ได้พัก ซึ่งอาจทำให้หัวนมสูญเสียความยืดหยุ่นและแห้งแตก จนกลายเป็นปัญหาที่ทำให้หัวนมถลอก
- การดูแลรักษา หากขาดการบำรุงที่ดีก็อาจทำให้หัวนมที่แห้งและขาดความชุ่มชื้นเกิดการแห้งแตก
- การใช้เครื่องปั๊มนมไม่ถูกวิธี โดยการปั๊มที่แรงเกินไป หรือการใช้เครื่องที่ไม่พอดีกับหัวนม อาจทำให้หัวนมบอบช้ำและแตกได้
- การติดเชื้อจากการให้นม ซึ่งอาจทำให้มีเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจากรอยแตกของหัวนมและทำให้เกิดการอักเสบได้
อาการของหัวนมแห้งแตก
คุณแม่สามารถตรวจสอบอาการของหัวนมแห้งแตกได้ตั้งแต่ต้น เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนและให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้
- รู้สึกแสบร้อน เจ็บแปลบที่หัวนม จากการขาดความชุ่มชื้น หรือการแตกร้าวของเนื้อเยื่อบริเวณหัวนม
- หัวนมแห้งหยาบกร้าน มีรอยแตก
- เกิดรอยถลอก หรือมีแผลเปื่อยที่หัวนม ซึ่งอาจเกิดจากการกัดและถูกเสียดสีระหว่างการดูดนม
- หัวนมมีรอยปริและแตกลึก โดยอาจมีเลือดหรือน้ำเหลืองซึมออกมา
- รู้สึกเจ็บแสบแปลบอย่างรุนแรงขณะให้นมลูก หรือเวลาถูกกระทบ
- หัวนมบวมแดง แสดงถึงอาการอักเสบหรือติดเชื้อ
หัวนมแตก มีวิธีรักษาอย่างไร?
- ปรับท่าให้นมลูกอย่างถูกต้อง เพื่อให้ทารกสามารถงับได้ทั้งหัวนมและลานนม ไม่ใช่แค่หัวนมอย่างเดียว โดยดูแลให้จมูก แก้ม และคางของลูกน้อยแตะกับเต้านมส่วนล่าง เพื่อให้สามารถดูดนมได้ง่ายขึ้น
- หากลานนมเกิดตึง หรือเกิดอาการคัด ควรบีบน้ำนมออก หรือนวดลานนมให้นิ่มเสียก่อนค่อยให้ลูกดูดนม
- กรณีหัวนมแตก ควรงดให้นมลูกข้างที่แตก 1-2 วัน หรือปรับมุมเพื่อไม่ให้ลูกดูดซ้ำในบริเวณที่แตก
- ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นและนำมาประคบ พร้อมนวดเต้านมเบา ๆ เพื่อให้น้ำนมเริ่มไหลออกมา
- ล้างหัวนมเมื่อจำเป็นตามความเหมาะสม ไม่ควรล้างด้วยน้ำเปล่าบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง
- ใช้ครีมทาหัวนมแตกหลังให้นมลูก
- รักษาความสะอาด ทำความสะอาดหัวนมด้วยน้ำสะอาดอุ่นหลังการให้นมทุกครั้ง แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง โดยพยายามอย่าใช้สบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากอาจทำให้ผิวระคายเคืองมากขึ้น
- พักหัวนมเป็นระยะ หากยังให้นมลูกได้ ควรสลับการให้นมระหว่างหัวนมที่แตกกับหัวนมข้างที่ปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกที่มากเกินไป
- ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวให้แผลหายดี
วิธีแก้หัวนมแตกที่มีประสิทธิภาพ คือการใช้ยาทาหัวนมแตกโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น บรรเทาอาการปวดหลังให้นมลูก โดยควรหลีกเลี่ยงครีมที่มีน้ำหอม แอลกอฮอล์ หรือสารกันบูด เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ อีกทั้งยังส่งผลต่อการให้นมได้ จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่ปลอดภัยจากธรรมชาติ ไร้สารเคมีรุนแรง
วิธีป้องกันหัวนมแตก
เพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นเมื่อประสบปัญหาหัวนมแห้งแตก การป้องกันตั้งแต่แรกจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีวิธีป้องกัน ดังต่อไปนี้
- เตรียมความพร้อมของหัวนมตั้งแต่ตั้งครรภ์ โดยการทาครีมนวดหัวนมเพื่อให้ผิวนุ่มและยืดหยุ่น รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างการไหลเวียนโลหิต
- ศึกษาวิธีให้ลูกยึดจับหัวนมอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่ม โดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกจะสามารถดูดนมได้ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเนินจนถึงหัวนม เพื่อป้องกันการออกแรงดูดที่หัวนมอย่างเดียวมากเกินไป จนทำให้เกิดการบาดเจ็บ
- หลีกเลี่ยงการสวมรองนมที่คับเกินไป ควรเลือกใส่รองนมผ้าฝ้ายนุ่ม ๆ ที่สวมใส่สบาย ไม่คับหน้าอกมากจนเกิดการเสียดสี
การดูแลหัวนมแห้งไม่เพียงส่งผลดีแค่กับคุณแม่ แต่ยังส่งผลต่อลูกน้อยโดยตรง จึงควรศึกษาการป้องกัน การรักษา รวมถึงการเลือกใช้ครีมทาหัวนมแตกอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดปัญหา เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อที่อาจตามมา
บีแพนเธน ออยเมนต์ กระตุ้นกลไกการฟื้นฟูผิว รักษาหัวนมแตก
ครีมทาหัวนมแตก บีแพนเธน ออยเมนต์ ช่วยรักษาสมดุล คงความชุ่มชื้นในชั้นผิว พร้อมโปรวิตามิน บี5 (Dexpanthenol) ที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิวอย่างอ่อนโยน กระตุ้นให้ผิวฟื้นฟูตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถใช้ได้แม้ยังให้นมบุตร โดยควรทาหลังจากให้นมบุตร และหากจะให้นมในครั้งต่อไป ควรใช้ผ้าหรือสำลีชุบน้ำเช็ดทำความสะอาด โดยไม่จำเป็นต้องล้าง หรือขัดถูแรง ๆ เพื่อเช็ดผลิตภัณฑ์ออก เนื่องจากบีแพนเธนประกอบไปด้วยไขมันจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงสารสังเคราะห์ Dexpanthenol ที่มีความปลอดภัย อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรสำรวจอาการของลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแพ้ หากเริ่มมีอาการผิดปกติควรพาไปพบแพทย์